ประเพณีชาวเรือ  
     
 
 
 
 

::ชาวเรือเป็นผู้ที่รัก และยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณี
ซึ่งเกิดจากความเคยชินในการกระทำจนกลายเป็นแบบอย่าง หรือพิธีการขึ้น ทุกชาติ
ทุกภาษา ต่างมีลัทธิประเพณี ของตนเองไม่เหมือนกัน หรืออาจรับมาจากอีกชาติหนึ่ง
และดัดแปลงให้เกิดความเหมาะสมขึ้น ราชนาวีไทยเราได้ถือเอาแบบอย่างราชนาวี
อังกฤษเป็นประเพณี แบบธรรมเนียม และพิธีต่าง ๆ จึงคล้ายคลึงกัน ในที่นี้จะขอกล่าว
โดยสังเขปดังต่อไปนี้

การทำความเคารพท้ายเรือเมื่อเวลาขึ้นลงเรือใหญ่
ก่อนจะขึ้น หรือลงจากเรือใหญ่ จะต้องทำความเคารพท้ายเรือก่อนเสมอ แต่ครั้งโบราณ
มีแท่นบูชาอยู่ที่ดาดฟ้าท้ายเรือ ผู้ที่จะขึ้นลงเรือไม่ทำความเคารพถือว่าเป็นการลบหลู่
หมิ่นเกียรติอย่างร้ายแรง แต่สมัยนี้มีธงราชนาวีอยู่แทนแล้ว แม้ว่าจะเป็นเวลาก่อนธงขึ้น
หรือหลังธงลงแล้วก็คงถือประเพณีทำความเคารพท้ายเรือก่อนที่จะขึ้นหรือลงจากเรือ
ใหญ่ตลอดมา

การขึ้นลงเรือเล็ก
แต่เดิมนกหวีดเรือใช้ในการให้จังหวะในการตีกระเชียงของทาสในเรือแกลเลย์ ของกรีซ
และโรมัน ต่อมาใช้เป็นสัญญาณในการยิงหน้าไม้ของทหารเรืออังกฤษในสงครามครูเสด

ในสมัยหนึ่งนกหวีดเรือถือเป็นเครื่องประดับเกียรติยศตามตำแหน่งราชการ เช่นจอมพล
เรือ มีนกหวีดทองคำ ผู้ติดกับโซ่เล็ก ๆ ห้อยคอ ปัจจุบันนี้นกหวีดเรือใช้สำหรับการเคารพ
การออกคำสั่ง และอื่น ๆ เช่น ธงขึ้น ธงลง เลิกงาน รับประทานอาหาร หะเบส หะเรีย
นายทหารขึ้น - ลงเรือ เป็นต้น

การเคารพระหว่างเรือต่อเรือ
ในทะเลนั้นภัยพิบัติย่อมเกิดขึ้นได้ทุกโอกาส ฉะนั้นจึงถือเป็นระเบียบประเพณี และ
มารยาทที่เรืออื่นจะต้องในความช่วยเหลือเรือที่หายเสมอ เมื่อเรือผ่านกันย่อมแสดง
ความเคารพซึ่งกันและกัน เพื่อแสดงว่าจะช่วยเหลือกัน หลักในการปฏิบัติมีดังนี้
เรือสินค้า และเรือโดยสารต่างเคารพเรือรบก่อนเสมอ ไม่ว่าจะเป็นเรือใหญ่เล็กอย่างใด
การแสดงความเคารพนั่น เรือสินค้าจะต้องสลุตธงให้เรือรบก่อน และเรือรบก็จะต้อง
สลุตธงตอบ นอกจากเรือรบกับเรือสินค้า หรือเรือโดยสารจะสลุตธงเพื่อแสดงว่าจะ
ช่วยเหลือซึ่งกันและกันแล้ว เรือรบยังให้ความคุ้มครองในกรณีเกิดโจรสลัดขึ้นแก่เรือ
เหล่านั้นด้วย

ถ้าเป็นเรือรบต่อเรือรบ จะต้องทำความเคารพด้วยสัญญาณนกหวีด หรือ
สัญญาณแตรเดี่ยว เรือที่มีชั้นของเรือต่ำกว่าจะต้องเป็นผู้ทำความเคารพให้ก่อนเสมอ

การอวยพรระหว่างเรือ
เรือรบทุกลำไม่ว่าจะเป็นชาติเดียวกัน หรือต่างชาติ เมื่อได้มาจอดร่วมอ่าวกัน หรือผ่าน
กันในทะเล เมื่อทราบแน่นอนว่าฝ่ายหนึ่งจะต้องจากไปเป็นเวลานาน เมื่อเรือนั้นออก
เดินทาง และผ่านกันในทัศนวิสัย ฝ่ายอยู่จะชักธงอวยพรให้เดินทางโดย สวัสดิภาพ
ฝ่ายเดินทางจะชักธงสัญญาณตอบของใจ ถ้าอยู่ในระยะไกลซึ่งไม่สามารถจะเห็นธง
ประมวลก็ให้ใช้สื่อสารทางวิทยุโทรเลขแทน

พิธีปล่อยเรือลงน้ำ
ตั้งแต่สมัยโบราณมาแล้ว เวลาปล่อยเรือเดินทะเลลงน้ำ จะต้องทำพิธีเพื่อให้เกิดสวัสด
ิมงคลแก่ตัวเรือเสียก่อน ในสมัยปัจจุบันพิธีปล่อยเรือลงน้ำแบบสากล ให้สุภาพสตรี
เป็นผู้ประกอบพิธีโดยวิธีปล่อยขวดแชมเปญกระทบหัวเรือ การนี้สืบเนื่องมาจากการดื่ม
อวยพรด้วยถ้วยเงินเมื่อดื่มแล้วก็ขว้างถ้วยขึ้นไปบนเรือปรากฏว่าสิ้นเปลืองมาก
จึงเปลี่ยนเป็นขว้างขวดกับหัวเรือแทน คราวหนึ่งสุภาพสตรีผู้ประกอบพิธีได้ขว้างขวด
แชมเปญไม่ถูกหัวเรือแต่กลับไปถูกแขกที่มาในงานพิธีบาดเจ็บจึงได้ใช้เชือกผู้คอขวด
เสียก่อนเสมอจนถึงปัจจุบันนี้

พิธีวางกระดูกงูเรือ
เรือเดินทะเลที่จะลงมือสร้างนั้น ครั้งแรกของการสร้างก็คือการวางกระดูกงูเรือเสียก่อน
โดยจัดให้มีพิธีวางกระดูกงู และเชิญแขกผู้มีเกียรติมาร่วมในพิธี ผู้ที่เป็นประธานในพิธี
จะทำการย้ำหมุดตัวแรก และมีพิธีในทางศาสนาด้วย พิธีวางกระดูกงูถือกันว่าเพื่อให้
เกิดความสวัสดีมีชัย และความวัฒนาถาวรให้แก่เรือ และนอกจากนั้นยังถือกันว่าเป็น
การเชิญแม่ย่านางเรือให้เข้าสิงสถิตด้วย

การยิงสลุต
การยิงสลุตเป็นการแสดงถึงการทำความเคารพอย่างหนึ่ง สันนิษฐานว่าสมัยโบราณ
ปืนใหญ่ต้องบรรจุทางปากกระบอก การจะยิงแต่ละครั้งเสียเวลานานจึงมักบรรจุไว้ก่อน
ครั้นเข้าไปในน่านน้ำต่างประเทศที่ปราศจากภัยการเอากระสุนออกเป็นการลำบาก
การยิงทิ้งเป็นการสะดวกกว่า จึงเป็นประเพณีตลอดมา ในน่านต่างประเทศเมื่อเวลาเรือ
จะเข้าท่าจะต้องยิงสลุตให้แก่ประเทศนั้นจำนวน ๒๑ นัด เป็นการเคารพ การยิงสลุตนี้
จะกระทำในระหว่างระยะเวลาตั้งแต่ธงขึ้นถึงธงลงเท่านั้น นอกจากการยิงสลุตให้แก่
ประเทศแล้ว ยังมีการยิงสลุตให้แก่บุคคลอีก
สลุตด้วยก็ได้

     

 

 
 
 
 

 

 

พิธีข้ามเส้นอิเควเตอร์
จัดเป็นพิธีที่สนุกสนานอย่างหนึ่ง จัดขึ้นสำหรับลูกเรือใหม่ที่ยังไม่เคยเข้าพิธี เพื่อเป็น
การแสดงว่าได้ผ่านความยากลำบากตรากตรำมาในทะเลอย่างมาก จึงประกอบพิธีขึ้น
เพื่อจารึกว่าเป็นบุตรของพระสมุทรซึ่งเป็นเจ้าแห่งท้องทะเล

พิธีนี้ทางเรือจะจัดขึ้น เมื่อเรือเล่นใกล้เส้นอิเควเตอร์ ปีศาจทะเลของพระสมุทรจะเป็น
ทูตขึ้นมา สอบถามและกำหนดการรับรองเมื่อถึงเวลาพระสมุทร และบริวารอันมีชายา
( แม่พระคงคา ) เธติส ตลกหลวง ช่างตัดผม โฆษก และบริวาร เช่น กุ้ง ปลา ขึ้นมา
บนเรือ พวกที่ไม่เคยผ่านเส้นอิเควเตอร์ทุกคน จะถูกจับอาบน้ำในอ่างผ้าใบ โดยมีสูบ
ดับเพลิงฉีดหลัง บริวารพระสมุทรเอาฟองสบู่โปะที่ศีรษะ และใช้กรรไกรไม้อันใหญ่
มีดโกนไม้ตัดผม เสร็จแล้วอาบน้ำชำระล้างเป็นเสร็จพิธี พระสมุทร และบริวารได้รับการ
รับรอง ด้วยเบียร์ และบุหรี่อย่างดี

การสละเรือใหญ่
เมื่อเรือเกิดภัยพิบัติในทะเล จำเป็นต้องสละเรือ เพื่อเอาชีวิตรอด หลังจากที่ ผบ.เรือ
นั้นได้เพียรพยายามจนสุดความสามารถที่จะแก้ไขได้ ถ้าในเรือมีเด็ก และสตรี จะต้อง
จัดให้ลงเรือช่วยชีวิตก่อนส่วน ผบ.เรือ จะต้องไปจากเรือเป็นคนสุดท้าย

การเดินบนดาดฟ้า
ถึงแม้ว่าในเรือจะแคบ แต่การเดินไปมาบนดาดฟ้าก็ต้องเป็นระเบียบ ในราชนาวีอังกฤษ
กราบขวาสงวนไว้เป็นทางเดินเฉพาะ ผบ.เรือ เท่านั้น ส่วนในราชนาวีไทย นายทหารเดิน
กราบใดก็ได้ ส่วนทหารต่ำกว่าสัญญาบัตรจะเดินทางกราบขวาไม่ได้นอกจากจะมีเหตุ
ฉุกเฉินขึ้นเท่านั้น

การตีระฆังเรือ
เดิมนั้นระฆังเรือจะตีมากที่สุดเท่าใดนั้นไม่ปรากฏหลักฐาน แต่ว่ามากกว่า ๘ ที

มีนิทานเล่าว่าทุกปีจะต้องส่งมนุษย์ไปสังเวยให้แก่มังกรไฟซึ่งเป็นเจ้าทะเลอยู่ในขณะ
นั้น โดยมังกรไฟจะขึ้นมาเลือกคนเอาเอง เมื่อถึงกำหนดเจ้าเมืองจัดเรือส่งไปหนึ่งลำ
เมื่อเรือไปถึงถ้ำมังกรไฟแล้ว ได้ทำพิธีอัญเชิญมังกรไฟขึ้นมา มังกรไฟได้เลือกเอาตัว
นายเรือลำนั้น นายเรือจึงขอผลัดไว้ว่า จะยอมให้กินเมื่อระฆังตี ๙ ที มังกรไฟก็ยอม
และลงไปนอนคอยอยู่ในถ้ำใต้บาดาล นายเรือผู้นั้นจึงคิดเปลี่ยนการตรีระฆังเรือมา
เป็นอย่างมาก ๘ ที ตั้งแต่นั้นมา มังกรไฟจึงต้องนอนคอยต่อมาจนบัดนี้

ระฆังเรือตี ๑ ที่ เมื่อเวลา ๐๐๓๐ และเพิ่มขึ้น ๑ ที ทุก ๆ ครึ่งชั่วโมงจนครบ ๘ ที
เมื่อเวลา ๐๔๐๐ แล้วเริ่มตี ๑ ที ใหม่ เวลา ๐๔๓๐ และเพิ่มต่อ ๆ ไปตามลำดับ

การรับรองด้วยนกหวีด
ในสมัยเรือใบ เมื่อมีการประชุมกันหรือเชิญรับประทานอาหารระหว่างกองเรือในทะเล
เมื่อเกิดคลื่นลมจัดเรือโบตไม่อาจเทียบบันไดได้ จึงต้องขึ้นทางเก้าอีจ่ายาม หรือทาง
รอกที่ชักเรือโบต โดยจ่ายามเป่านกหวีดเพลง ชักขึ้นหย่อนลง ต่อมาจึงกลายเป็น
ประเพณีที่จ่ายาม และยามจะต้องมาคอยต้อนรับ นายทหารที่บันไดเสมอ

อีกเรื่องหนึ่งก็คือ หลังจากอังกฤษได้ชัยชนะสงครามทางเรือเมื่อปี ค.ศ.๑๗๔๒ ได้จัด
ให้มีการดื่มฉลองกันอย่างเต็มที่ ขากลับนายพลเรือ รอดนีย์ แม่ทัพดื่มมากไปหน่อย
ไม่สามารถขึ้นทางบันไดข้างเรือได้คงจะเป็นด้วยคลื่นแรง และเมามารด้วยเหตุนี้ท่าน
นายพลจึงต้องขึ้นมากับเรือโบต ดังนี้ที่นายพล จึงออกคำสั่งว่า ต่อไปถ้านายพลเรือ
จะขึ้นหรือลงเรือด้วยเรือโบต ให้เป่านกหวีดเพลงชักขี้นหรือชักลง ๑ จบ ต่อมาจึงกลาย
เป็นประเพณีที่จะต้องเป่านกหวีดให้แก่นายทหารผู้มีอาวุโส เช่น ผบ.เรือ และผู้บังคับ
บัญชาชั้นสูงด้วย

ในปัจจุบันการรับรองโดยการเป่านกหวีดนั้นให้แก่ ผบ.เรือ ทุกนาย และนายทหารชั้น
นายนาวาขึ้นไปถ้ารับรองนายพลเรือให้พันจ่าเป็นผู้เป่า ผู้ที่จะต้องไปรับรองคือ นาย
ทหารยาม พันจ่ายาม จ่ายาม และยามบันได ถ้าผู้บังคับบัญชาสูงกว่า ผบ.เรือ และ
ต้นเรือ ต้องไปรับรองด้วย

การเยี่ยมคำนับ
เนื่องจากการที่เรือเคารพซึ่งกันและกันนั้น จึงได้เกิดมีประเพณีการเยี่ยมคำนับเมื่อเรือ
มาจอดร่วมกันขึ้น เรือที่จอดอยู่ก่อนส่งนายทหารยศไม่เกินกว่าเรือเอกไปเยี่ยมเพื่อ
การไต่ถามถึงการเดินทาง และความประสงค์ในการเดินทางต่อไป ตลอดจนขอทราบ
นามเรือ และผู้บังคับการเรือ และรับรองยินดีจะช่วยเหลือการขัดข้องใด ๆ เท่าที่สามารถ
จะช่วยได้ เสร็จแล้วผู้บังคับการเรือที่จอดใหม่จึงไปเยี่ยม ผบ.เรือ ที่ส่งนายทหารมา
ติดต่อนั้น และการเยี่ยมตอบกับในระหว่าง ผบ.เรือ ต่อ ผบ.เรือ ถ้ามีเรือชาติเดียวกัน
หลายลำก็ทำแต่เรือธง แต่จะทำให้ครบถ้วนทุกลำก็ได้ ถ้ามีเวลาพอ ถ้าเป็นเรือหลาย
ชาติต้องกระทำจนครบ ถ้าวันเดียวกระทำการเยี่ยมคำนับไม่หมดต้องกระทำในวันต่อมา
ในโอกาสแรก นอกจากจะมีการเยี่ยมคำนับกันในระหว่างผู้บังคับการเรือแล้ว ยังมีการ
เยี่ยมคำนับผู้บังคับบัญชาทหารบนบกอีกด้วย ในการเยี่ยมคำนับนี้อาจมีการยิง